ประวัติความเป็นมาของพลาสติก
เริ่มแรกเดิมทีนั้นการค้นพบและคิดค้นพลาสติกนั้น ริเริ่มมาจากการทดแทนวัสดุตามธรรมชาติที่ขาดแคลน โดยเฉพาะแร่เหล็กซึ่งเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้ในทางอุตสาหกรรมอย่างมากมายนับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในทวีปยุโรปเป็นต้นมา จนเรียกยุคนั้นว่า “ยุคเหล็ก (Iron age)” แร่เหล็กจะนำมาถลุงเป็นเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ จนกระทั่งแร่เหล็กตามธรรมชาติเริ่มร่อยหรอขาดแคลน จึงทำให้แร่เหล็กมีราคาเพิ่มสูงขึ้นและมีไม่เพียงพอต่อความต้องการในอุตสาหกรรม ประกอบกับการหมุนเวียนเหล็กกลับมาใช้ใหม่มีลักษณะจำกัด เนื่องจากเหล็กมีคุณสมบัติสลายตัวผุกร่อนเป็นสนิมไปตามกาลเวลา หลักจากนั้นพลาสติกก็เข้ามามีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น มีการใช้พลาสติกทดแทนวัสดุอื่นได้แทบทุกชนิด นับตั้งแต่เหล็กหรือโลหะประเภทอื่นๆ ไม้ แก้ว กระเบื้อง อีกทั้งพลาสติกสามารถผลิตเป็นสินค้าที่มีมาตรฐาน และคุณภาพเป็นอย่างเดียวกันได้จำนวนมาก จึงตอบสนองต่อการใช้งานทางอุตสาหกรรม
พลาสติกเป็นวัสดุ ที่ถูกคิดค้นมาราวๆ ปี ค.ศ. 1900 พลาสติกชนิดแรกๆ ที่ถูกคิดค้นได้แก่พลาสติกที่ได้จากธรรมชาติ จำพวกยางไม้ (gutta-percha) น้ำมันชักเงา (shellac) ต่อมาจึงได้มีการคิดค้นพลาสติกโดยการสังเคราะห์ จากน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งทำให้มีการพัฒนาพลาติกชนิดใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
อุตสาหกรรมพลาสติกเป็นอุตสากรรมที่มีความเกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะอุตสาหกรรมปิตรเคมีจะเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็น ผงพลาสติก (resin) หรือ เม็ดพลาสติก (compound) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกต่อไป โดยอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะนำผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปิโตรเลียมมาผ่านกระบวนการ กลั่น แยก หรือ แตกตัว ในที่สุดได้เป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปิโตรเลี่ยมขั้นปลาย (downstream petrochemical product) และเมื่อนำผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมขั้นปลายไปผ่านกระบวนการขั้นต่ำไปที่เรียกว่า โพลีเมอร์ไรเซชั่น (polymerization) จะทำให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมขั้นปลายเหล่านี้ซึ่งเป็นสารโมโนเมอร์ (monomer) รวมตัวเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมีและมีโมเลกุลที่ยาวมากประกอบด้วยหน่วยที่ซ้ำๆ กัน จำนวนมาก ทำให้มีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้นและมีคุณสมบัติทางกายภาพเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น จากเดิมสารตั้งต้นที่เป็นหน่วยเล็กๆ อาจจะอยู่ในรูปของก๊าซหรือของเหลว เมื่อผ่านกระบวนการโพลีเมอร์ไรเซชั่นแล้ว โมเลกุลเล็กๆ เหล่านั้นจะเกิดพันธะเคมีเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า โพลีเมอร์ (polymer) นั่นเอง คุณสมบัติทางกายภาพจะเปลี่ยนนั่นเอง คุณสมบัติทางกายภาพจะกลายเป็นของแข็ง และมีคุณสมบัติในทางเชิงกลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ โดยนำไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อไป
รูปแบบของอุตสาหกรรมพลาสติกอาจะแยกออกได้เป็น 2 ระดับดังนี้
1.อุตสาหกรรมการผลิตวัตถุดิบ ได้แก่ผงพลาสติก (resin) หรือเม็ดพลาสติก (compound) จากกระบวนการโพลีเมอร์ไรเซชั่นนั่นเอง โดยปกติเมื่อนำผลพลาสติก (resin) ไปใช้งาน พบว่าจะขาดความคงทน เกิดการเสื่อมสภาพในระหว่างการขึ้นรูป ทำให้ใช้งานไม่ได้นาน ดังนั้นจึงมีการพัฒนาให้พลาสติกมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าในรูปผงพลาสติก โดยการใส่สารเติมแต่งลงไป เช่น สารเพิ่มความคงทน (stabilizer) สารเพิ่มความยืดหยุ่น (plasticizer) สารเพิ่มปริมาตร (filler) หรือสารเพิ่มความหล่อลื่น (lubricant) เป็นต้น ผงพลาสติกที่ผสมสารเติมแต่งนี้จะเรียกว่าเม็ดพลาสติก (compound)
2.อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ได้แต่ การนำผงหรือเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบมาผลิตเป็นวัสดุสำเร็จรูปในลักษณะต่างๆ กัน เช่นบรรจุภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ อีกมากมาย ในปัจจุบันได้มีการนำพลาสติกมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากมาย เนื่องจากพลาสติกมีคุณสมบัติทางโครงสร้างพิเศษ กล่าวคือ มีน้ำหนักโมเลกุลสูง (high molecular weight) ซึ่งมีโมเลกุลที่ต่อเชื่อมกันยาวกว่าสารชนิดอื่น จึงทำให้พลาสติกมีคุณสมบัติพิเศษหลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น แข็งแต่เบา เหนียว ยืดหยุ่น มีความโปร่งใส โปร่งแสง หรือทึบแสงก็ได้ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี ทนการสึกกร่อน ไม่เป็นสนิมกันน้ำ ทำเป็นสีต่างๆ ได้เป็นต้น นอกจากนี้การขึ้นรูปง่ายแลเร็วสามารถนำพลาสติกไปผลิตเป็นสินค้าที่ผลิตได้เป็นจำนวนมาก (mass production)