ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันได้มีการนำพลาสติกเข้ามาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากพลาสติกมี คุณสมบัติทางโครงสร้างพิเศษ คือ มีน้ำหนักโมเลกุลสูง (high molecular weight) ซึ่งมีโมเลกุลเชื่อมต่อกันยาวกว่าสารชนิดอื่น จึงทำให้พลาสติกมีคุณสมบัติพิเศษหลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น แข็งแต่เบา เหนียว ยืดหยุ่น มีความโปรงใส โปร่งแสง หรือทึบแสงก็ได้ เป็นฉนวนไฟฟ้า ทนการสึกกร่อน ไม่เป็นสนิม กันน้ำ สามารถทำได้หลายสี เป็นต้น
นอกจากนี้กระบวนการผลิตหรือการขึ้นรูปนั้นทำได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถนำไปผลิตสินค้าได้จำนวนมาก (Mas production) พลาสติกที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการผลิตได้มีหลากหลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป หากต้องการจำแนกแบบหยาบที่สุดจะสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท อันได้แก่
1.พลาสติกประเภทคืนรูป (Thermoplastic) พลาสติกประเภทนี้สามารถนำกลับมาใช้ใม่ได้ พลาสติกประเภทนี้เมื่อได้รับความร้อนและความดันระหว่างการขึ้นรูป จะเปลี่ยนสถานะทางกายภาพ เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว หรือเมื่อเย็นตัวลงจะแข็งตัว โดยโครงสร้างทางเคมีเหมือนเดิม จึงสามารถนำมากลับมาหลอมใช้ใหม่เป็นพลาสติกชนิดเดิมได้อีก พลาสติกประเภทนี้มีการใช้งานในอุตสากรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น พลาสติก โพลีเอทธิลีน (polyethylene : PE) ใช้ผลิตเป็น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ถุงพลาสติกชนิดร้อนและเย็น ขวดพลาสติก ถัง ฟิล์มพลาสติก จุกปิดขวดพลาสติก, พลาสติก โพลีโพรพีลีน (polyethylene : PP) ใช้ผลิตถุงบรรจุอาหาร ด้ามแปรงสีฟัน ภาชนะเครื่องใช้ในครัว ฝาขวดแก้ว, พลาสติก โพลีไวนิลคลอไรด์ (polyvinyl chloride : PVC) ใช้ผลิตเป็นถุงบรรจุผักและผลไม้ ขวดน้ำมันพืช ขวดน้ำอบ ขวดครีม เครื่องสำองค์ ท่อน้ำ สายไฟฟ้า เป็นต้น
2.พลาสติกประเภทคงรูปหรือเทอร์โมเซตติง (Thermosetting) พลาสติกประเภทนี้จะไม่สามารถนำกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ แต่พลาสติกประเภทนี้ทนต่อความร้อนที่มีอุณหภูมิและความกดดังสูง จึงเหมาะสำหรับนำไปผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการให้ทนต่อความร้อนและมีความแข็งแรง เช่น พลาสติก เมลามีน (melamine) ใช้ทำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในครัว จำพวกจาก ชาม ถ้วยกาแฟ ถาดบรรจุสารเคมี อุปกรณ์ไฟฟ้า ด้ามมือจับหูหม้อ เป็นต้น